ReadyPlanet.com
dot dot




ประวัติบริษัทฯ ยุคแรกปี พ.ศ.2499–ปี พ.ศ.2530 article
 
            
ความเป็นมา                         
               
                ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯกำลังปรับปรุงพัฒนาบ้านเมือง เพราะเพิ่งพ้นจากภัยสงครามโลก
ครั้งที่ 2 การดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศมีการขยายตัวมากขึ้น จนได้มีการจัดตั้งองค์การซีโต้ (South East Asia Treaty Organization
–SEATO) โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ
                ต่อมา พลโท.ประยูร ภมรมนตรี  รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในขณะนั้นได้เสนอนายกรัฐมนตรี  ให้มีนโยบายโครงการก่อสร้าง
โรงแรมขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2499 หรืออีก 4 ปีข้างหน้าจะมีการประชุมระดับชาติ คือ สหภาพรัฐสภา
คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติจัดตั้งองค์กรผู้ดำเนินการเพื่อจัดตั้งโรงแรมของรัฐแห่งนี้ขึ้นเป็นรูป บริษัทจำกัดขึ้นตรงกับกระทรวงการคลัง
ตั้งชื่อว่า “บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด”   ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ The Syndicate of Thai Hotels and Tourists
Enterprises Limited ”   จดทะเบียนบริษัทฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2496   โดยมีผู้ริเริ่มการตั้งบริษัทฯ ทั้งสิ้น 8 ท่านดังนี้
1.                     1. นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์                           
2.                     2. พลโทประยูร ภมรมนตรี                                         
3.                     3. นายโชติ คุณะเกษม                                                   
4.                     4. นายสัญญา ยมะสมิต                                                  
5.                     5. พันตรีรักษ์ ปันยารชุน                                             
6.                     6. พลตรีไชย ประทีปะเสน                                         
7.                     7. นายศุจิน ลพานุกรม                                                  
8.                     8. หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงษ์                            
                มีสำนักงานชั่วคราวของบริษัทอยู่ที่ตึกไทยนิยม เป็นลำดับแรก
 
การหาที่ดินเพื่อสร้างโรงแรม
                ตอนแรกบริษัทฯ สนใจที่จะใช้พื้นที่บริเวณสวนลุมพินีเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงแรมแห่งใหม่ แต่ได้ถูกยับยั้งไว้ด้วยเห็นว่าจะเป็น
การขัดพระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ สำหรับให้ประชาชนได้
พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น
 
ที่ดินหัวมุมสี่แยกราชประสงค์
                บริษัท โรงแรมพระนคร จำกัด  ได้ซื้อที่ดินหัวมุมสี่แยกราชประสงค์จากพระยาศรีวิกรมาทิตย์  ขนาดที่ดิน 09-3-98.5 ไร่(3,998.5
ตารางวา) ในราคารวมทั้งสิ้น 6,000,000 บาท (หกล้านบาท)โดยกู้เงินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และใช้ที่ดินผืนนี้เป็น
หลักค้ำประกันเงินกู้
               
                ต่อมาบริษัท โรงแรมพระนคร จำกัด ไม่สามารถเจรจาในรายละเอียดข้อตกลงกับสายการบิน PAN AM เพื่อก่อสร้างโรงแรมระดับ
อินเตอร์ในพื้นที่ผืนนี้  ระหว่างที่ตกลงกันไม่ได้  ทำให้บริษัทโรงแรมพระนคร จำกัด  ไม่ปฏิบัติตามสัญญากู้เงิน  ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึง
ตกไปเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยปริยาย
 
                รัฐบาลจึงให้   บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด  เข้าไปรับโอนโครงการจาก  บริษัท โรงแรมพระนคร จำกัด มา
ดำเนินการเสียเอง โดยยึดเอาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นตัวกลางโดยบวกค่า “good will” ให้กับบริษัท โรงแรมพระนคร จำกัด
อีก 10% เป็นเงิน 600,000 บาทรวมเป็นเงินค่าที่ดิน 6,600,000 บาท
               
                สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงขอถือหุ้นเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท ในบริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว
 จำกัด  สำหรับเป็นค่าซื้อที่ดิน ส่วนค่าที่ดินที่เหลือบริษัทฯได้ชำระให้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปก่อนหน้านี้แล้ว
               
                บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด จึงได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหัวมุมสี่แยกราชประสงค์ เนื้อที่ 09-03-98.5 ไร่
(3,998.5 ตารางวา) ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2500 เป็นต้นมา
 
                บริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงแรมสูง 4 ชั้น  ใช้งบประมาณก่อสร้าง 75 ล้านบาท  และมีจำนวนห้องพัก 250 ห้อง โดย
ใช้ชื่อกิจการว่า โรงแรมเอราวัณเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2499 โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิด
 
                สภาพของโรงแรมเริ่มเสื่อมโทรมมาก   เนื่องจากเปิดดำเนินการมากกว่า 20 ปี   ดังนั้นในปี 2522 คณะกรรมการบริษัทฯได้แต่งตั้ง
ให้บริษัทฯที่มีความเชี่ยวชาญโครงสร้างอาคารเป็นผู้ศึกษาแนวทางปรับปรุงโรงแรม  โดยบริษัทฯที่ปรึกษาได้เสนอให้รื้อโรงแรมแล้วสร้าง
ขึ้นใหม่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณค่าก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท
 
                ต่อมาในปี 2525 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัทฯที่ปรึกษาให้เป็นผู้ศึกษาปรับปรุงโดยการไม่รื้อสร้างใหม่ผลปรากฏว่าต้อง
ใช้เงินงบประมาณปรับปรุงไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์
 
                ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการปรับปรุงกิจการโรงแรมเอราวัณใหม่ 
โดยการร่วมทุนกับเอกชนที่เหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดต่อรัฐในการก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่งพิเศษขึ้นในสถานที่เดิม
 
                คณะรัฐมนตรีให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกต ดังนี้
1.                      1. ในการปรับปรุงกิจการโรงแรมเอราวัณควรรักษาเอกลักษณ์ไทยไว้ด้วย
2.                      2. ควรมีเงื่อนไขให้เอกชนร่วมทุนต้องรับพนักงานและลูกจ้างเดิมของโรงแรมกลับเข้าทำงานให้มากที่สุด
3.                      3. เอกชนผู้เข้าร่วมทุนควรเป็นคนไทย
4.                      4. การบริหารกิจการโรงแรม ควรคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้บริหารงานเป็นสำคัญด้วย
-                           - คณะกรรมการบริษัทฯได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาโครงการปรับปรุงโรงแรมเอราวัณ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2528
-                           - บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ได้ออกหนังสือประกาศเชิญชวนผู้สนใจลงทุนในที่ดินบริเวณโรงแรมเอราวัณ
 เมื่อ                 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2529
-                           - บริษัทฯ ได้คัดเลือกบริษัทฯเอกชนที่มีเสนอเข้ามา 4 รายได้คัดเลือกเพียง 1 ราย คือ บริษัท อัมรินทร์ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
 เป็น                 เป็นผู้ร่วมทุน
 
วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
 
         บริษัทฯ ได้ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่1/2530 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2530 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อ
ปรับแก้ไขใหม่เป็น 19 ข้อ ดังนี้
         ( 1 ) ประกอบกิจการโรงแรม   ภัตตาคาร   บาร์   ไนต์คลับ  โบว์ลิ่ง  อาบอบนวด  โรงภาพยนตร์และโรงมหรสพอื่น  สถานพักตากอากาศ 
สนามกีฬา  สระว่ายน้ำ
         ( 2 ) ประกอบกิจการนำเที่ยวรวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเที่ยวทุกชนิด
         ( 3 ) ประกอบกิจการค้า  อาหารสด  อาหารแห้ง  อาหารสำเร็จรูปเครื่องกระป๋อง  เครื่องปรุงรสอาหาร  เครื่องดื่ม  สุรา  เบียร์  บุหรี่ และ
เครื่องบริโภคอื่น
         ( 4 ) ประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง)
         ( 5 ) ประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า และคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำทางอากาศ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งเป็น
ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ประจำทางและเรือ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
         ( 6 ) ประกอบกิจการตัดผม แต่งผม เสริมสวย ตัดเย็บและซัดรีดเสื้อผ้า
         ( 7 ) ประกอบกิจการค้าทอง นาก เงิน เพชร พลอย และอัญมณีอื่นรวมทั้งวัตถุทำเทียมสิ่งดังกล่าว
         ( 8 ) ประกอบกิจการจำหน่ายนิตยสารและของที่ระลึก
         ( 9 ) ประกอบกิจการเพื่อทำการผลิต ซื้อ เช่าขายและทำการโดยทั่วไปเกี่ยวกับครุภัณฑ์ และสัมภาระทุกชนิดของโรงแรมและภัตตาคาร 
และทำการผลิต เช่าถือกรรมสิทธิ์ดำเนินการสอบสิทธิแก่ผู้อื่นและดำเนินการโดยทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์สินเครื่องอำนวยความสะดวกและสิ่ง
จำเป็นทั้งหลายอันเป็นการอำนวยความสะดวก หรือจำเป็นในการดำเนินการและปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์อย่างใดๆ ดังกล่าวมาข้างต้น
         ( 10 ) ทำการผลิต ซื้อหรือจัดหาโดยวิธีอื่นลงหุ้น ถือกรรมสิทธิ์จำนอง จำนำ ขาย โอน และรับโอนหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ทำการค้า
หรือทำการใดๆ  เกี่ยวกับสินค้าเครื่องภาชนะ  และโภคภัณฑ์  และทรัพย์สินส่วนบุคคลและเพื่อทำการเป็นตัวแทน  สำหรับซื้อและหรือจัดการ
ส่งซึ่งทรัพย์สินทุกชนิด
         ( 11 ) ตกลงทำสัญญา  และปฏิบัติตามสัญญาชนิดใดๆ  กับบุคคลห้างหุ้นส่วน  สมาคม  บริษัท  เทศบาล  องค์การ  กรม  กระทรวง
หน่วยการเมืองหรือรัฐบาล ตลอดจนทำการจดทะเบียนกิจการต่าง ๆ เช่นว่านั้นซึ่งเป็นผลดีต่อวัตถุประสงค์ของบริษัท และให้ได้รับจากทาง
การรัฐบาลซึ่งสิทธิใดๆ เอกสิทธิ และสัมปทาน อันบริษัทเห็นสมควรรับ
         ( 12 ) เข้าหุ้นหรือลงทุนกับบุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดซึ่งประกอบวิสาหกิจทางธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งภายในและภายนอก
ประเทศ เพื่อรับผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือโดยปริยาย
         ( 13 ) ทำการขาย แลกเปลี่ยน เช่า จำนอง จำหน่ายปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือหากำไร ซึ่งทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของบริษัททั้งหมด
หรือแต่เพียงบางส่วน
         ( 14 ) กระทำการใด ๆ เพื่อการซื้อ ขาย เช่า รับตามสัญญาเช่าแลกเปลี่ยนใบยืมและแสวงหาหรือจำหน่ายซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิ หรือ
เอกสิทธิใด บรรดามีในอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งบริษัทเห็นเป็นประโยชน์ในอันที่จะบรรลุตามวัตถุประสงค์
         ( 15 ) ประกอบธุรกิจบริการรับค้ำประกันหนี้สิน ความรับผิด และการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลอื่น
         ( 16 ) ทำการจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือแต่งตั้งตัวแทนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
         ( 17 ) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์   เก็บผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สินให้บุคคลอื่น
         ( 18 ) กู้ยืมเงิน เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตด้วยวิธีการอื่น โดยจะมีหลักประกัน
หรือไม่ก็ตามจำนองหรือจำนำทรัพย์สิน หรือรับจำนำทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในกิจการของบริษัท ทั้งนี้ไม่รวมถึงธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
         ( 19 ) บริษัทมีอำนาจออกหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่กำหนดไว้ได้
 
 


 



 




เกี่ยวกับบริษัท

แถลงข่าวการลงนามในสัญญาร่วมทุนปรับปรุงกิจการโรงแรมเอราวัณ article
ยุคปัจจุบันตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา article



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด The Syndicate of thai Hotels & Tourists Enterprises Limited
973 อาคารเพรสิเด้นท์ทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Email : saha_hotel@hotmail.com
โทร.0-2656-0044
Copyright © 2011 All Rights Reserved.