ReadyPlanet.com
dot dot




สิ่งที่ต้องปฏิบัติหากเกิดแผ่นดินไหว article
 
สิ่งที่ต้องปฏิบัติหากเกิดแผ่นดินไหว
 
ภัยแผ่นดินไหวจะเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงมักมีเหตุอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง อาจเกิดแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่ม และอาคารอาจไม่พังทลายในทันทีแต่อาจจะพังทลายภายหลัง

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

- ออกจากอาคารไปสู่ที่โล่งแจ้งในทันที
- หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู เพราะจะเกิดอันตรายจากการเหยียบกัน
- หากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
- คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง
- ถ้าอยู่ในตึกสูงให้อยู่ที่ชั้นเดิม อย่าใช้ลิฟต์
- เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง
- หากขับขี่ยานพาหนะให้รีบจอดยานพาหนะ ในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง และ ให้อยู่ภายในรถยนต์

ส่วนการเตรียมพร้อมรับมือ ควรตรวจสอบดูว่าที่พักอาศัยนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัย แผ่นดินไหวหรือไม่  เสริมบ้านหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว  ทำที่ยึดตู้และเฟอร์นิเจอร์ไว้ไม่ให้ล้ม ติดยึดชุดโคมไฟบนเพดานให้มั่นคง  จัดการป้องกันไม่ให้แก๊สรั่วไหล  โดยใช้สายท่อแก๊สที่ยืดหยุ่นได้  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หน้าต่างหรือผนังห้อง และมีไฟฉาย วิทยุ ไว้ใกล้ตัว เป็นต้น

ตารางมาตราริคเตอร์

 มาตราริคเตอร์ เป็นมาตราที่ใช้กำหนดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดยทุกๆ 1 ริคเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0-9 ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 และที่สูงกว่า 9 เนื่องจากหินในชั้นหลอมละลายที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้รับความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ที่มีการสะสมพลังงานไว้ เมื่อพลังงานมีมากจึงชนและเสียดสีกัน หรือแยกออกจากกัน โดยการสะสมของพลังงานที่เปลือกโลกจะถูกส่งผ่านไปยังเปลือกพื้นโลกของทวีป รอยร้าวของหินใต้พื้นโลกเรียกว่า “ รอยเลื่อน ” และหากรอยเลื่อนที่มีอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน
 สำหรับรอยเลื่อนภายในประเทศไทย เกือบทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก โดยรอยเลื่อนที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย มีประมาณ 9 แห่ง 1. รอยเลื่อนเชียงแสน 2. รอยเลื่อนแม่ทา 3. รอยเลื่อนเถิน 4. รอยเลื่อนแพร่ 5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี 6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ 7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ 8. รอยเลื่อนระนอง และ 9. รอยเลื่อนคลองมะรุย
 

ในเมื่อสัญญาณเตือนภัยทางธรรมชาติ ขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นปัญหาเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ใช่เรื่องไกลตัวเสียแล้ว บทเรียนหลายเรื่องทางธรรมชาติ ในประเทศไทย เคยเห็นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิ คลื่นยักษ์ซัดถล่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อปลายปี 2547  หรือสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้ว
 ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังกับการเตรียมพร้อมรับมือ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงประชาชนเองก็ต้องหมั่นรับรู้ติดตามข้อมูลข่าวสารว่าเกิดอะไรขึ้นในโลกปัจจุบัน!!

 

ตัวเลขริคเตอร์

จัดอยู่ในระดับ

 ผลกระทบ 

อัตราการเกิดทั่วโลก

1.9 ลงไป 

ไม่รู้สึก(Micro) 

ไม่มี 

8,000 ครั้ง / วัน

2.0-2.9

เบามาก(Minor)

คนทั่วไปมัก ไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้างและตรวจจับได้ง่าย

1,000 ครั้ง / วัน

3.0-3.9 

เบามาก(Minor) 

คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง 

49,000 ครั้ง / ปี

4.0-4.9 

เบา(Light)

ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง

6,200 ครั้ง / ปี

5.0-5.9

 ปานกลาง(Moderate)

สร้างความเสียหายยับเยินให้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างมั่นคงนั้นไม่มีปัญหา

800 ครั้ง / ปี

6.0-6.9 

แรง(Strong)

 สร้างความเสียหายค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กม. 

120 ครั้ง / ปี

7.0-7.9

 รุนแรง(Major)

 สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณที่กว้างกว่า 

18 ครั้ง / ปี

8.0-8.9

รุนแรงมาก(Great)

  สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร

1 ครั้ง / ปี

9.0-9.9

รุนแรงมาก(Great)

“ล้างผลาญ”ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร

1 ครั้ง / 20 ปี

10.0 

ทำลายล้าง(Epic)

ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้ 

0

          เดลินิวส์ หน้า 2 วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554

 


 


 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




สาระน่ารู้

จังหวัดน่าน article
จังหวัดบึงกาฬ article
นมัสเต เนปาล article
โรงแรมแพงที่สุดในโลก article
ตรวจสอบอาคาร...รับมือแผ่นดินไหว article
เกร็ดน่ารู้ article



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด The Syndicate of thai Hotels & Tourists Enterprises Limited
973 อาคารเพรสิเด้นท์ทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Email : saha_hotel@hotmail.com
โทร.0-2656-0044
Copyright © 2011 All Rights Reserved.